ค่ารับรอง จ่ายอย่างไร ให้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี
ค่ารับรอง หรือค่าดูแลลูกค้า ที่หลาย ๆ บริษัทจะต้องมีไว้
เพื่อเจรจาธุรกิจการค้า แต่ละบริษัทจะมีวิธีการให้ค่ารับรองที่แตกต่างกันไป
โดยในประเทศไทย การให้ค่ารับรองลูกค้าเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีจะต้องมีเอกสารหลักฐานที่ชัดเจนและสอดคล้องกับกฎหมายภาษี เช่น ใบเสร็จรับเงิน
หลักฐานการจ่ายเงิน ซึ่งต้องระบุว่าเป็นค่ารับรองลูกค้า และมีรายละเอียด
การให้ค่ารับรองอย่างชัดเจน ซึ่งหากค่าใช้จ่ายนั้น ๆ ไม่เข้าเกณฑ์ที่กำหนด
จะกลายเป็น "ค่าใช้จ่ายต้องห้ามโดยทันที"
โดยปกติแล้วค่ารับรองถือเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้าม เพราะอาจมีความคาบเกี่ยว
กับค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวข้องกับกิจการ แต่ในกรณีนี้กรมสรรพากร
ก็เข้าใจคนทำธุรกิจว่าต้องมีการติดต่อลูกค้าในการทำธุรกิจ และเราจะทราบ
ได้อย่างไรว่าค่ารับรองแบบไหนสามารถเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้? ไปดูกันเลย
เกณฑ์ของค่ารับรองที่สามารถเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ ไว้ดังนี้
1. ค่ารับรองที่เป็นไปตามธรรมเนียมปฏิบัติของธุรกิจ
เช่น พาเยี่ยมชมโรงงาน จ่ายค่าโรงแรมที่พักขณะติดต่อธุรกิจ
2. ค่ารับรองที่เป็นค่าบริการ เช่น ค่าที่พัก ค่ายานพาหนะ ค่าอาหารและเครื่องดื่ม
3. ค่ารับรองที่เป็นสิ่งของ กระเช้าผลไม้ ของที่มีมูลค่า ไม่เกิน 2,000 บาทต่อคน
ค่ารับรองต่าง ๆ ต้องการได้รับอนุมัติจากกรรมการบริษัท
ค่ารับรองสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ตามที่จ่ายไปจริง
แต่ค่ารับรองรวมกันต้องไม่เกิน 0.3% ของรายได้ก่อนหักรายจ่าย หรือ
ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วถึงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแล้วแต่อย่างใด
จะมากกว่า ทั้งนี้ รายจ่ายที่จะนำมาหักได้จะต้องมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท
นอกจากนี้จะต้องมีการออกเอกสารเป็นหลักฐานอย่างถูกต้อง
เอกสารอนุมัติการจ่ายค่ารับรอง
ก่อนที่กิจการจะมีการจ่ายค่ารับรองจะต้องมีการทำเอกสารขออนุมัติถึงกรรมการบริษัทให้ถูกต้องเสียก่อน และต้องมีการระบุรายละเอียดให้ชัดเจนและจะต้องทำตามวัตถุประสงค์ที่แจ้งในเอกสาร
ต้องจัดทำใบขออนุมัติเบิกค่ารับรอง โดยต้องมีกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากกิจการให้เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติ
และระบุวัตถุประสงค์ในการขออนุมัติ
ต้องระบุว่าบุคคลภายนอกที่กิจการเลี้ยงรับรองเป็นใคร เกี่ยวข้องกับกิจการอย่างไร ควรระบุชื่อ ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ของบุคคลที่เลี้ยงรับรองด้วย
ต้องมีหลักฐานการจ่ายเงินค่ารับรอง เช่น ใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานการจ่ายเงิน โดยรายละเอียดในเอกสารจะต้องสอดคล้องกับรายละเอียดที่ขออนุมัติ
หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับวิธีการให้ค่ารับรองลูกค้าที่เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษี
คุณสามารถปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านภาษีเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้ค่ะ