แชร์

ค่าลดหย่อน...ตัวช่วยในการวางแผนภาษี

อัพเดทล่าสุด: 12 ธ.ค. 2023

รู้หรือไม้ ?? ธุรกิจเองก็สามารถมีค่าลดหย่อนได้

เมื่อเริ่มทำธุรกิจ สิ่งที่จะหลีกเลี่ยงไม่ได้เลยคือเรื่องของ "ภาษี"
ซึ่งเป็นสิ่งที่ธุรกิจจะต้องทำการวางแผนไว้ล่วงหน้านอกเหนือจากการชำระภาษี
เงินได้นิติบุคคลแล้ว 


คุณทราบหรือไม่ว่าธุรกิจ ?? ก็มีตัวช่วยที่เป็น ค่าลดหย่อน ให้ธุรกิจนั้นเสียภาษีได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้นด้วย สิทธิประโยชน์ที่สามารถลดหย่อนได้ มีอะไรบ้างมาดูกัน 




1. ค่าจ้างงานผู้สูงอายุ
เพื่อส่งเสริมให้มีการกระจายรายได้ไปสู่ผู้สูงอายุ สำหรับธุรกิจ SME
จึงมีการส่งเสริมรายได้ให้กับผู้สูงอายุ และให้สิทธิประโยชน์กับนิติบุคคล
ที่จ้างงานผู้สูงอายุ โดยสามารถเอาค่าจ้างผู้สูงอายุมาเป็นรายจ่ายของนิติบุคคลได้ โดยสามารถหักเป็นรายจ่ายทางภาษีได้ถึง 2 เท่า
แต่พนักงานที่จัดว่าเป็นผู้สูงอายุต้องมีเงื่อนไขครบทุกข้อดังนี้


- มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
- เป็นลูกจ้างบริษัทอยู่ก่อนแล้วหรือขึ้นทะเบียนกับกรมการจัดหางาน
- ค่าจ้างจะต้องไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท
- มีการจ้างงานผู้สูงอายุไม่เกิน 10% ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมด
- ผู้สูงอายุต้องไม่เป็นและไม่เคยเป็นกรรมการหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทที่จ้าง
  หรือบริษัทในเครือ

2. ค่าใช้จ่ายในการอบรมลูกจ้าง
สำหรับธุรกิจ SME ที่มีการส่งพนักงานไปฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพของลูกจ้าง สามารถนำค่าใช้จ่ายส่วนนี้มาเป็นรายจ่ายที่ลดหย่อนภาษีได้ 

- กรณีส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรม

ค่าใช้จ่ายในการศึกษา เช่น ค่าเล่าเรียนหรือค่าใช้จ่ายการฝึกอบรม
เช่น ค่าลงทะเบียน รวมถึงค่าอาหาร ค่าที่พัก เป็นต้น

มีใบเสร็จรับเงินของสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรม
กำหนดเงื่อนไขให้เข้าทำงานหลังศึกษาหรือฝึกอบรมเสร็จ
จัดทำรายงานหรือค่าใช้จ่ายดังกล่าว

3. เงินบริจาค
การบริจาคที่นิติบุคคล SME บริจาคให้กับองค์กร มูลนิธิ หรือที่อื่น ๆ
ก็สามารถเอามาใช้ลดหย่อนภาษีได้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้


- บริจาคให้กับกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
สามารถนำมาหักรายจ่ายได้เท่ากับจำนวนเงินที่บริจาค แต่ต้องไม่เกิน 2%
ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย

- บริจาคให้กับสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐ, เอกชน และสถาบันอุดมศึกษา
ที่มีศักยภาพสูง ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีสามารถนำมาหักรายจ่ายได้ 2 เท่า แต่ต้องไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศล

- บริจาคให้กับกองทุนวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมรวม 4 กองทุน สามารถหักรายจ่ายได้ 2 เท่าของจำนวนเงินที่บริจาค เมื่อรวมกับรายจ่ายที่เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษา และรายจ่ายที่กำหนดแล้วต้องไม่เกิน 10% ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่าย

จะเห็นได้ว่าสิทธิประโยชน์ต่างๆกัน จะมีความเชื่อมโยงกับนโยบายของธุรกิจ SME เพื่อเป็นการส่งเสริมธุรกิจและภาครัฐให้ได้ผลประโยชน์ร่วมกัน และธุรกิจยังมีโอกาสเติบโตได้มากยิ่งขึ้นด้วย


บทความที่เกี่ยวข้อง
ปฏิทินภาษี 2568 ยื่นตรงทุกกำหนดสำคัญ
ปฏิทินภาษี 2568 รวมกำหนดการยื่นภาษีสำคัญ ครบทุกแบบฟอร์ม พร้อมคำแนะนำการยื่นที่ถูกต้อง ตรงเวลา ไม่พลาดทุกเดดไลน์ ปฏิทินภาษีที่ต้องรู้!
1 ม.ค. 2025
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: ใครต้องเสีย? อัตราเท่าไหร่?
เข้าใจภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอย่างง่ายดาย! บทความนี้ไขข้อสงสัย ใครต้องเสียภาษี? อัตราภาษีเท่าไหร่? พร้อมข้อมูลภาษีที่ดินว่างเปล่า อัปเดตปี 2567
1 ม.ค. 2025
ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ อะไร? ใครต้องจ่าย? อธิบายแบบเข้าใจง่าย
ทำความเข้าใจ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ง่ายๆ ! บทความนี้อธิบายครบ จด VAT เมื่อไหร่? ใครต้องจ่าย? คำนวณอย่างไร? พร้อมตัวอย่าง อ่านเลย!
1 ม.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy