แชร์

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คืออะไร?

อัพเดทล่าสุด: 12 ธ.ค. 2023

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือการเสียภาษีรูปแบบหนึ่ง ซึ่งผู้จ่ายเงิน (นิติบุคคล)
ต้องหักส่วนนี้ไว้ก่อนที่จะทำการจ่ายเงินให้กับผู้รับ 
เพื่อนำเงินส่วนนั้นให้กับทางกรมสรรพากร ทำให้ผู้รับเงินจะไม่ได้รับยอดเงินดังกล่าวแบบเต็มจำนวน
และจะได้รับเอกสารหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ไว้
เพื่อเป็นหลักฐานไว้ใช้ในการยื่นภาษีแสดงเงินได้ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล


ค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่ต้องการหัก ภาษี ณ ที่จ่าย

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะเกิดขึ้น เมื่อมีการจ่ายเงินที่เข้าข่ายตามเงื่อนไขที่ทางกรมสรรพากรกำหนดไว้ โดยอัตราการจ่ายภาษีหัก ณ ที่จ่าย จะมีความแตกต่างกันออกไปตามแต่ละประเภทของเงินได้ โดยจะมีรายละเอียด ดังนี้



1. ค่าจ้าง และเงินเดือน ต่ำสุด 0%
ค่าจ้างและเงินเดือน คือ ยอดเงินที่บริษัทหรือองค์กรจ่ายให้กับพนักงาน
เป็นค่าตอบแทน ซึ่งเป็นเงินที่เข้าเกณฑ์การหักภาษี ณ ที่จ่าย ซึ่งอัตราการหักจะใช้วิธีการคำนวณเช่นเดียวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยสามารถทำได้จาก
การเอาเงินที่จ่ายให้พนักงานทั้งปี มาหักค่าลดหย่อนต่างๆ
และหักตามอัตราก้าวหน้า


2. จ้างทำงานหรือบริการ ต่ำสุด 0%
การจ้างทำงานหรือบริการ คือ การจ้างบุคคลธรรมดาให้ทำบางอย่างให้
ซึ่งการจ้างงานในรูปแบบฟรีแลนซ์มักจะรวมอยู่ใน รูปแบบนี้ด้วย
เช่น บริการรับจ้างออกแบบ 

อัตราการหักภาษี ณ จ่ายของการจ้างทำงานหรือบริการ จะมีการคำนวณในรูปแบบเดียวกับกรณีของเงินเดือนและเงินค่าจ้าง โดยการคำนวณยอดเงินได้ทั้งปีและหักส่วนลดหย่อนต่างๆ ออก คิดเป็นอัตราก้าวหน้าเช่นเดียวกับการคิดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

3. จ้างรับเหมา ทำของ บริการ 3%
การจ้างรับเหมา ทำของ หรือบริการ คือ การว่าจ้างให้บุคคลทำสิ่งของหรือบริการใดๆ เช่นเดียวกับรูปแบบการจ้างทำงานหรือบริการแต่แตกต่างกันตรงที่ในการจ้างรับเหมาทำของ หรือบริการ ผู้ว่าจ้างจะไม่มีอุปกรณ์ใดๆ ให้ ทำให้ผู้ได้รับเงินหรือผู้ถูกจ้างจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ของตัวเอง หรือจัดหาสิ่งของด้วยตัวเอง เช่น การรับจ้างเขียนโปรแกรม เป็นต้น โดยจะมีอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายอยู่ที่ 3%

4. ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ 5%
ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ คือ การเช่าสถานที่ ที่ผู้เช่ามีสิทธิในการถือกุญแจ เช่น
การเช่าออฟฟิศ ในกรณีนี้จะถือเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์
จึงมีอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย 5% นอกจากนี้ ยังมีการเช่าแบบอื่นๆ
ที่จำเป็นต้องหัก 5% คือ การเช่ารถยนต์หรือค่าจ้างอาชีพเพื่อการบันเทิง


แต่ในกรณีที่เป็นการใช้งานสถานที่แต่ไม่มีสิทธิในการถือกุญแจ เช่น
การเช่าสถานที่เพื่อจัดงานอีเวนต์ งานประชุม หรือสัมมนา การหักภาษี ณ ที่จ่ายตามกฎหมายจะถือว่าอยู่ในหมวดการจ้างบริการ โดยมีอัตราภาษีอยู่ที่ 3%


5. ค่าโฆษณา 2%
ค่าจ้างโฆษณา คือ การว่าจ้างผ่านเอเจนซีหรือบริษัทรับทำโฆษณา ให้มีการโฆษณาหรือโปรโมทแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งทางสื่อสิ่งพิมพ์หรือ
สื่อโซเชียลมีเดีย ซึ่งไม่ใช่บริการด้านการตลาด จะมีการหักภาษี ณ ที่จ่าย 2%

ทั้งนี้ ในกรณีที่เป็นการจ้างบริการด้านการตลาด เช่น การจ้างผู้มีชื่อเสียงหรืออินฟลูเอนเซอร์ การจ้างทีมให้คำปรึกษาด้านการตลาดจะเป็นการหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% 

6. ค่าขนส่ง 1%
ค่าขนส่งที่จำเป็นต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย คือ ค่าขนส่งในกรณีที่เป็นการจ้างบริการขนส่งของภาคเอกชนหรือนิติบุคคล และมีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการรูปแบบการขนส่ง เช่น การใช้บริการของบริษัทโลจิสติกส์ในการขนส่งสินค้า ซึ่งอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะเท่ากับ 1% 

เมื่อผู้จ่ายเงิน (นิติบุคคล) มีการหักเงินตามอัตราข้างต้นไปแล้ว จะมีการทำเอกสารที่เรียกว่า หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย หรือ 50 ทวิ เพื่อเป็นหลักฐาน และผู้รับเงินจะนำเอกสารนี้เป็นหลักฐานเพื่อยื่นต่อกรมสรรพากร เพื่อขอลดภาษีบุคคลธรรมดาประจำปีนั้นเอง

ตัวอย่างหนังสือรับรอบหัก ณ ที่จ่าย 


บทความที่เกี่ยวข้อง
ปฏิทินภาษี 2568 ยื่นตรงทุกกำหนดสำคัญ
ปฏิทินภาษี 2568 รวมกำหนดการยื่นภาษีสำคัญ ครบทุกแบบฟอร์ม พร้อมคำแนะนำการยื่นที่ถูกต้อง ตรงเวลา ไม่พลาดทุกเดดไลน์ ปฏิทินภาษีที่ต้องรู้!
1 ม.ค. 2025
ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: ใครต้องเสีย? อัตราเท่าไหร่?
เข้าใจภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอย่างง่ายดาย! บทความนี้ไขข้อสงสัย ใครต้องเสียภาษี? อัตราภาษีเท่าไหร่? พร้อมข้อมูลภาษีที่ดินว่างเปล่า อัปเดตปี 2567
1 ม.ค. 2025
ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ อะไร? ใครต้องจ่าย? อธิบายแบบเข้าใจง่าย
ทำความเข้าใจ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ง่ายๆ ! บทความนี้อธิบายครบ จด VAT เมื่อไหร่? ใครต้องจ่าย? คำนวณอย่างไร? พร้อมตัวอย่าง อ่านเลย!
1 ม.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy